วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554



แสยะยิ้มพญายม อาเพศ รุ้งกินน้ำ (ไทยโพสต์)
           เมื่อเกิดรุ้งกินน้ำหลังฝนตกในยามเช้าหรือเย็น วงโค้งรุ้งกินน้ำซึ่งมีอยู่ 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง จะโค้งไปตามส่วนโค้งของเปลือกโลก แต่ในภาพเป็นรุ้งกินน้ำมีวงโค้งตรงกันข้ามกับรุ้งกินน้ำธรรมดา เป็นโค้งกลับด้าน ซึ่งแน่นอนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้หาดูได้ยากยิ่ง

           การปรากฏของรุ้งกินน้ำส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาสดใส นกส่งเสียงร้องพร้อมกับอากาศดีบริสุทธิ์ แต่เมื่อใดรุ้งกินน้ำปรากฏกลับด้าน จึงเป็นสัญญาณเตือนว่ากลียุคกำลังบังเกิด

           รุ้งกลับหัวกลับหางที่ศัพท์ทางอังกฤษเรียกว่า เซอร์คัมเซนิทัล อาร์ก (Circumzenithal Arc) หรือวงแหวนครึ่งขอบฟ้า ซึ่งมีคำอธิบายโดยนักปราชญ์เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ว่านี่คือรอยแสยะยิ้มพญายม (Cruach's Grin)
    
           ทักเกอร์ แม็กคาร์ตนีย์ นักมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ที่ฟิลาเดลเฟีย อธิบายว่า "ครูแอ็ก" เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของชาวเซลติกโบราณ (บรรพบุรุษชาวอังกฤษ) เป็นเทพเจ้าแห่งความตายและการทำลายล้าง การสร้างรุ้งกินน้ำกลับด้านขึ้นบนท้องฟ้าจึงเป็นคำเตือนจากเทพเจ้าครูแอ็กว่า วาระสุดท้ายของโลกกำลังมาถึงแล้ว หรือในคัมภีร์ไบเบิลของชาวคริสต์ได้วาดภาพรุ้งกินน้ำกลับด้านเอาไว้ โดยระบุว่า เป็นลางบอกเหตุว่าโลกกำลังเกิดสงครามระหว่างธรรมะกับอธรรมขึ้นแล้ว
           คำทำนายจากยุคโบราณ หากนำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าเข้าเค้า โดยเฉพาะปรากฏการณ์โลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอาจนำพาไปสู่วาระสุดท้ายของโลกของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ได้
    
           นักอุตุนิยมวิทยาในยุคปัจจุบันก็มีคำอธิบายถึงการเกิดรุ้งกลับหัวว่า เกิดจากภาวะภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง การเกิดรุ้งกินน้ำธรรมดาเกิดขึ้นโดยแสงแดดสาดส่องผ่านละอองน้ำหรืออากาศชื้นในชั้นบรรยากาศ แต่รุ่งกินน้ำกลับหัวเกิดจากการผสมผสานอย่างผิดธรรมชาติ นั่นคือการผสมปนเประหว่างอากาศร้อนกับอากาศหนาวเหนือชั้นบรรยากาศ แล้วสะท้อนกลับมาเหมือนกระจก จึงเกิดรุ้งกินน้ำกลับหัวขึ้นมา

           ดร.แจ็กเกอลีน มิตตอง นักดาราศาสตร์ อวกาศแห่งแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ถ่ายภาพรุ้งกินน้ำกลับหัวภาพนี้ได้จากท้องฟ้าใกล้บ้านพัก

           "ฉันไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อน ฉันอายุ 60 ปีแล้ว ยังแปลกใจกับปรากฏการณ์ประหลาดนี้"
           รุ้งกินน้ำกลับหัว เมื่อเกิดขึ้นจะมีแสงสว่างมากกว่ารุ้งกินน้ำธรรมดาหลายเท่า เชื่อกันว่าวงโค้งกลับหัวเกิดจากการสะท้อนแสงมาจากวงแหวนฮาโล หรือฉัพพรรณรังสีของดวงอาทิตย์

           นายกรหริศ บัวสรวง โหรชื่อดัง เปิดเผยว่า จากปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำที่เกิดขึ้นในลักษณะกลับหัวที่ประเทศอังกฤษ ในทางโหราศาสตร์ทำนายว่าเป็นลางร้าย และจะเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในบ้านเมืองนั้นๆ ตลอดจนเกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่กับประเทศอื่นๆ ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน ประเทศอังกฤษอยู่ทางทิศตะวันตก มีดาวพฤหัสบดีเป็นตัวแทนประเทศตะวันตก ตอนนี้ดาวพฤหัสบดีเข้าไปอยู่ในภพวินาศของดวงโลก และเมื่อเกิดปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำกลับหัวซึ่งถือเป็นลางร้าย ก็บอกได้ว่าทั่วทั้งโลกจะเกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างประเทศ และปะทะสู้รบกันอย่างรุนแรง

           "รุ้งกินน้ำกลับหัวดาวทำมุมตรงกันข้าม แม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย แต่ก็อาจส่งผลทางอ้อม เช่น ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ดาวพฤหัสบดีอยู่ในภพวินาศ ไทยกับเขมรจะมีปัญหาขัดแย้งกระทบกระทั่งกันตลอดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จากนั้นก็จะเริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ" นายกรหริศเผย

           นายอรรถวิโรจน์ ศรีตุลา โหรชื่อดัง บอกเช่นเดียวกันว่า รุ้งกินน้ำกลับหัวเป็นเรื่องไม่ดี ให้ระวังภัยพิบัติ ปัญหาภายในบ้านเมือง ปัญหาระหว่างประเทศ จะเกิดการเจ็บป่วย สูญเสียบุคคลสำคัญต่าง ๆ ของประเทศ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไทยโพสต์
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเล่าเช้านี้

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุป...เหตุภัยธรรมชาติ..2010



คุณเป็นคนเลือกเอง

พื้นที่ในประเทศไทยหายไปแล้วกว่าแสนไร่จากภัยพิบัติ

โดยหนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10546
ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ
ไม่ใช่เรื่องของการเสียดินแดน
ไม่ใช่เรื่องของการสู้รบปักปันดินแดนให้แก่ใคร
แต่เป็นเรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
พื้นที่ใน จ.สมุทรปราการ ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ
ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์รายวันได้เสนอข่าวใหญ่ถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ถูกกัดเซาะหายไปเป็นบริเวณกว้าง แต่ดูเหมือนว่ายังไม่มีใครตระหนักถึงความรุนแรง ไม่เห็นถึงความสำคัญ ซึ่งถ้ายังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะมานั่งถามกันว่าแล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน
น่าตกใจที่ชั่วเวลา 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ในประเทศไทยหายไปแล้วกว่าแสนไร่ เท่ากับพื้นที่หายไปกว่าครึ่งค่อนของพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร
หลักเขตบางขุนเทียนอยู่กลางทะเล
ที่อันตรายมากที่สุดและอยู่ใกล้เมืองคือที่ จังหวัดสมุทรปราการ และที่บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่มีอัตราการกัดเซาะกว่า 25 เมตรต่อปี และ 20-25 เมตรต่อปี ตามลำดับ
ตัวเลขเหล่านี้ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจวิจัยมานานกว่า 10 ปี และได้เขียนรายงานไว้อย่างละเอียด
รศ.ดร.ธนวัฒน์เล่าว่า ไม่เพียงชายฝั่งทะเลทั้งที่สมุทรปราการและบางขุนเทียนจะมีอัตราการกัดเซาะมากขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่ชายฝั่งร่นเข้ามาทุกขณะ เช่น ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ฯลฯ ซึ่งการกัดเซาะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหลายอำเภอในแต่ละจังหวัด
แผนที่ภูมิศาสตร์โบราณเมื่อ 18.000 ปีที่แล้ว
แม้จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาดำเนินการ แต่ไม่ได้เป็นไปในภาพรวม เพราะการทำเครื่องกีดขวางเพื่อลดกระแสความรุนแรงของคลื่นในที่หนึ่ง อาจส่งผลกระทบในอีกที่หนึ่ง การไม่ประสานงานร่วมกัน จึงย่อมเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
รศ.ดร.ธนวัฒน์ อธิบายต่อไปว่า ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 2,667 กิโลเมตร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันทั้ง 23 จังหวัด
ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจากจังหวัดตราด จนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 1,653 กิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีจุดวิกฤตด้านการกัดเซาะ 22 จุด รวมเป็นพื้นที่ 180.9 กิโลเมตร ในพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะประมาณ 56,531 ไร่
สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน พบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลขั้นรุนแรง 8 จุด เป็นพื้นที่ 23 กิโลเมตร จากพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นประมาณ 7,187 ไร่
นั่นคือ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศที่ถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น 113,042 ไร่
"จุดกัดเซาะที่อันตรายที่สุด คือจังหวัดสมุทรปราการ และเขตบางขุนเทียน กทม. สองจุดนี้หนักที่สุด บางแห่งถูกกัดเซาะ 1 กิโลเมตร หรืออย่างพื้นที่ปากแม่น้ำบางปะกงถึงปากแม่น้ำแม่กลองระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตรถูกกัดเซาะไป 82 กิโลเมตร พื้นที่หายไป 18,000 ไร่"
สาเหตุที่พื้นที่ชายฝั่งถูกกัดกร่อนไปเรื่อยๆ นั้น นอกจากแรงปะทะของคลื่นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ ปริมาณตะกอนบริเวณปากแม่น้ำลดลง ปัญหาแผ่นดินทรุดบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้อัตราการกัดเซาะมีความรุนแรงมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ป่าชายเลนซึ่งเป็นแนวป้องกันชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติถูกทำลายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการขุดทรายชายฝั่งทะเล ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความรุนแรงมากขึ้น
ชายหาด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ในอดีต มีหาดทรายสวยงาม
ชายหาด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบันถูกกัดเซาะไม่มีหาดให้เห็น
ฉะนั้น พื้นที่ที่ประสบปัญหาวิกฤตเร่งด่วน เป็นพื้นที่ที่ควรมีมาตรการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนโดยเฉพาะ การมีมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น (1-3 ปี) และทำควบคู่พร้อมกับการมีมาตรการแก้ไขในระยะยาว (3-5 ปี)
เท่าที่ทำการสำรวจ พบว่าพื้นที่วิกฤตที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ บริเวณตะวันตกบ้านคลองสีล้ง อำเภอบ้านบ่อ-บ้านบาง สำราญ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ, บ้านแหลมสิงห์-ปากคลองขุนราชพินิตใจ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และปากคลองขุนราชพินิตใจ-บ้านท่าตะโก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
วิธีการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในระยะยาว ที่ควรทำหลังหรือทำควบคู่กับมาตรการแก้ไขระยะสั้น คือการผสมผสานวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอ่อนและแบบแข็งเข้าด้วยกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่มากที่สุด
แนวป้องกันชายหาด บ้านไทรย้อย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ที่ทำให้ชายหาดเสียหายรุนแรง
"แนวทางการป้องกันในพื้นที่วิกฤตเร่งด่วนมีการกัดเซาะรุนแรง ต้องใส่โครงสร้างเพื่อช่วยธรรมชาติที่ไม่สามารถฟื้นของมันเองได้ ซึ่งทางทีมวิจัยได้รับเงินจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และได้ทำการทดลองจุดแรกที่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยการทำแท่งคอนกรีตรูปสามเหลี่ยม นำไปปักห่างจากทะเลประมาณ 500 เมตร โดยปักเป็นสามแถว เพื่อช่วยลดแรงปะทะของคลื่น
"งบประมาณที่ใช้ในการทดลองประมาณ 12 ล้านบาท โดยระดมนักวิจัยประมาณ 20 คน มาร่วมกันวิจัย และเก็บข้อมูลเรื่องคลื่น เรื่องตะกอน เราคาดหวังว่า ถ้าโครงการประสบความสำเร็จ ก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลในรูปแบบการป้องกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะกับพื้นที่บริเวณอ่าวไทยตอนบน ซึ่งมาถึงตอนนี้นับว่าวิกฤตที่สุดแล้ว"
รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า ถ้าไม่รีบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเสียตั้งแต่ตอนนี้ ประเทศไทยจะเสียพื้นที่ให้กับการกัดเซาะอีกเยอะแน่นอน
"การกัดเซาะเป็นภัยพิบัติเงียบ แม้ว่าหลายหน่วยงานจะให้ความสนใจ แต่ผลที่ตามมาเราพบว่ายังคงเกิดการกัดเซาะที่รุนแรง ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาการกัดเซาะเป็นจุดๆ ไม่มีการมองในภาพรวม ซึ่งบางทีการสร้างเขื่อนดักตะกอนเพื่อแก้ปัญหาจุดหนึ่งได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่ากลับส่งผลกระทบทำให้พื้นที่อื่นเกิดการกัดเซาะเร็วขึ้นและมากกว่าเดิม
"ที่ผมวิตกคือ จากนี้ไปหน่วยงานเทศบาล อบต.จะนำงบประมาณไปป้องกัน ซึ่งยิ่งจะทำให้ชายฝั่งเละเทะและเสียหายมากขึ้น ทางที่ถูกคือน่าจะมีหน่วยงานมาทำหน้าที่ดูแล และนำเชิงวิชาการเข้ามาช่วยอย่างเร่งด่วน" อาจารย์ธนวัฒน์แสดงความเป็นห่วง
บ้านชาวบ้าน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะ
ส่วนแนวทางการแก้ไขของจังหวัดนครศรีธรรมราช กำลังดำเนินการอย่างเร่งด่วนเช่นกัน
กิตติพันธ์ เพชรชู หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าถึงสภาพของชายฝั่งทะเลแถบนครศรีธรรมราชว่า อำเภอที่ได้รับผลกระทบคือ ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนังบางส่วน และหัวไทร ระยะประมาณ 225 กิโลเมตร ปัจจุบันน้ำทะเลได้หนุนให้คลื่นสูงขึ้น และพัดเข้ามาบริเวณที่พักอาศัยของชาวบ้าน ก่อให้เกิดความเสียหายมาก รวมทั้งทำให้ถนนเลียบชายทะเลได้รับความเสียหายด้วย ส่วนที่แหลมตะลุมพุกได้รับผลกระทบเช่นกัน โชคดีที่บริเวณที่น้ำขึ้นไม่มีประชาชนอาศัยอยู่
"กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบเกี่ยวการกัดเซาะชายฝั่งที่ปากพนังและอำเภอหัวไทร เพื่อจัดทำเป็นโครงการนำเสนอ โดยอำเภอปากพนังจะได้งบประมาณ 360 ล้านบาท ต่อ 1 ปี จะทำเป็น 3 ระยะ ปี 2550-2553
"ตอนนี้ได้งบฯ ซีอีโอ ของจังหวัดช่วยเยียวยาชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบในระยะทาง 1 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่เพียงพอ ในส่วนของจังหวัดจะแก้ไขเฉพาะหน้าก่อน" กิตติพันธ์บอก
ส่วนที่ชาวบ้าน 50 ครัวเรือน บริเวณหมู่ที่ 2 ที่อาศัยอยู่ป่าชายเลนที่แหลมตะลุมพุกมาเรียกร้องนั้น กิตติพันธ์ว่า ในเบื้องต้นใช้งบฯฉุกเฉินช่วยเหลือชาวบ้านแล้ว
ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้ายังมองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ ไม่เร่งดำเนินการแก้ไขเสียแต่ตอนนี้ สุดท้ายพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เรายังเห็นๆ กันอยู่ในวันนี้คงจะมีสภาพไม่ต่างจากหลักกิโลเมตรกลางน้ำที่โผล่ให้เห็นอยู่ลิบๆ เหมือนที่บางขุนเทียนก็เป็นได้

5 จุดวิกฤตชายฝั่งทะเลไทย
1. ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมสิงห์ - ปากคลองขุนราชพินิตใจ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร ปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งถอยร่นเข้ามาประมาณ 700-800 เมตร บางแห่ง เช่น บ้านขุนสมุทรจีน หมู่ 9 พื้นที่ถูกกัดเซาะหายไปประมาณ 1 กิโลเมตร ในช่วง 28 ปี ด้วยอัตราการกัดเซาะมากกว่า 25 เมตรต่อปี
2. ชายฝั่งทะเลปากคลองราชพินิจใจ - บ้านท่าตะโก เขตบางขุนเทียน กทม. ระยะทางประมาณ 5.5 กิโลเมตร มีอัตราการกัดเซาะ 20-25 เมตรต่อปี ช่วง 28 ปีที่ผ่านมาพื้นที่หายไป 400-800 เมตร
3. ชายฝั่งทะเลบ้านเคียนดำ - บ้านบ่อนนท์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 8 กิโลเมตร
4. ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมตะลุมพุก - บ้านบางบ่อ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอัตราการกัดเซาะประมาณ 8 เมตรต่อปี
5. ชายฝั่งบ้านเกาะทัง - บ้านหน้าศาล จังหวัดนครศรีธรรมราช ความยาวทั้งหมดประมาณ 23 กิโลเมตรตลอดความยาวชายฝั่งทะเลนี้มีการกัดเซาะขั้นรุนแรง ทำให้ถนนพัง ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่บริเวณอื่น อัตราการกัดเซาะประมาณ 12 เมตรต่อปี สาเหตุเพราะแนวชายหาดที่เปิดโล่งวางตัวในทิศทางเกือบเหนือ-ใต้ ทำให้ได้รับแรงกระแทกของคลื่นขนาดใหญ่ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่เคลื่อนเข้าหาฝั่งในทิศทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรง


วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จุดเสี่ยงน้ำท่วม “บางขุนเทียน” วิกฤต 3 พันไร่จมทะเล !!

Feb 4th, 2011
สำรวจพื้นที่บางขุนเทียน หลังเผชิญการกัดเซาะจากน้ำทะเลอย่างรุนแรง พบชาวบ้านทยอยขายให้นายทุนทำนากุ้งเกือบหมดแล้ว
พื้นที่ “ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน” กำลังเผชิญกับการกัดเซาะจากน้ำทะเลอย่างรุนแรง มีการคาดการณ์กันว่า หากไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในอนาคตอาจถึงขั้นต้องย้ายเมืองหลวง
ภาพที่ปรากฏเห็นแล้วน่าใจหาย เพราะ “หลักเขตกรุงเทพ” ซึ่งเดิมเคยอยู่บนที่ดินบริเวณชายฝั่ง ถูกน้ำท่วมจนกลายเป็นที่ดินในทะเลไกลลิบ ย้ำชัดถึงวิกฤตที่กำลัง คืบคลานเข้ามา
ชาวบ้านคลองประมง วัย 50 ปี บอกว่า อยู่อาศัยบริเวณชายทะเลบางขุนเทียนมาแต่เกิด ก่อนหน้านี้น้ำไม่เคยท่วม มีแต่น้ำทะเลกัดเซาะหนุนสูง ช่วงเช้าและเย็น สูงสุดเกือบ 2.5 เมตร ช่วงน้ำลดจะเห็นดินโคลนและปลาตีน
“ความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏให้เห็นคือ มีน้ำมากขึ้น แต่ยังไม่ท่วม ที่ท่วมเพราะน้ำทะเลหนุน แค่ 1-2 ชั่วโมง รวม ๆ แล้วชาวบ้านอยู่กันได้ เพราะความเคยชิน แต่อีก 10 ปีข้างหน้า จะอยู่ได้อีกหรือไม่ ยังไม่รู้”
ชาวบ้านหลาย ๆ คนบอกว่า ที่ดินชายฝั่งตอนนี้ทุกคนขายทิ้งให้นายทุนหมด เหลือเจ้าของเดิม 20 ราย จาก 10 ปีก่อนซื้อขายกันไร่ละ 4 แสน จนถึง 7-8 แสนบาท ตอนนี้เหลือ 3-4 แสนบาท ก็ไม่มีคนมาซื้อ เขากลัวน้ำท่วมและแผ่นดินทรุด
พร้อมกับฝากการบ้านให้ กทม.หาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เช่น อาจก่อสร้างเขื่อนยักษ์โดยรอบอย่างถาวร ซึ่งอาจต้องใช้งบประมาณนับหมื่นล้านบาท ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นำไม้ไผ่มาปักลดกระแสคลื่นคงป้องกันได้แค่ระยะสั้น ๆ
ด้านแหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า หากจะแก้ปัญหาชายทะเลบางขุนเทียนอย่างถาวร จะต้องสร้างเขื่อนเหมือน ในต่างประเทศ อย่างเนเธอร์แลนด์ โดยต้องสร้างเขื่อนป้องกันแนวน้ำทะเลตั้งแต่บางขุนเทียน ปากน้ำ ไปจนถึงสมุทรปราการ ความยาวร่วม ๆ 30 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนสูงเป็นแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นคงขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ ว่าจะดำเนินการอย่างไร

ขอบคุณ ข้อมูลข่าว จาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

พื้นที่ชายหาดพัทยา หายไปใหน


ศูนย์ข่าวศรีราชา-รอง นายกเมืองพัทยา-นอภ.บางละมุง รุดตรวจสอบพื้นที่ชายหาดพัทยา หลังพบถูกน้ำทะเลกัดเซาะเป็นแนวยาวกว่า 3 ร้อยเมตร จนผู้ประกอบการร่มเตียงต้องนำถุงทรายมาวางกันคลื่น
      
วันนี้ (24 ม.ค.54) นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายเมืองพัทยา และนายมงคล ธรรมกิตติคุณ นายอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ชายหาด บริเวณใกล้เคียงโรงแรมดุสิตธานี พัทยา ภายหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวว่า ชายหาดบริเวณดังกล่าวความยาวประมาณ 300 เมตร ได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเวลาน้ำขึ้นชายหาดบางส่วนได้หายไป ซึ่งกังวลว่า ในอีกระยะเวลาไม่นานชายหาดพัทยา จะถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนไม่มีหลงเหลือ และอาจจะทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเสียหาย
      
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีการกัดเซาะของน้ำทะเลจนต้นไม้ใหญ่ไม่มีพื้นที่ดินให้ยึดลำต้น และบริเวณหาดทรายช่วงโค้งโรงแรมดุสิตธานี ลดน้อยหายลงไปมาก ผู้ประกอบการร่มเตียงจากที่สามารถกางเตียงได้ 40 เตียง ก็เหลือประมาณ 4 เตียงเท่านั้น ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
      
นายรณกิจ เผยว่า ปัญหาดังกล่าว ได้มีการเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว และทางเมืองพัทยา ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการประชุมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อำเภอบางละมุง กรมเจ้าท่า และนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้น ก็มีการเสนอแผนการแก้ไขในระยะยาว คือ จะมีการนำทรายจากแหล่งธรรมชาติ มาเพิ่มบริเวณชายหาด ลึกลงไปประมาณ 50 เมตร แต่ในเรื่องดังกล่าวนี้ ก็คงจะต้องประชุมกับนักวิชาการและเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อศึกษาถึงผลดีและผลเสีย ก่อนที่จะมีการอนุมัติงบประมาณมาเพื่อดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการในการแก้ไขจะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก
      
ในส่วนของผู้ประกอบการร่มเตียงนั้น ก็จะมีการช่วยเหลือ หากอยู่ในช่วงดำเนินการแก้ไข ก็จะย้ายผู้ประกอบการร่มเตียงที่เดือดร้อน ไปอยู่ในส่วนพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่สันทนาการ โดยจะมีการจัดระเบียบผู้ประกอบการที่เดือดร้อน เนื่องจากมีการจัดพื้นที่สันทนาการ 50 เปอร์เซนต์จากพื้นที่กางร่มเตียง โดยจะให้ผู้ประกอบการไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวชั่วคราว จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขโดยแล้วเสร็จ
      
ส่วนการแก้ไขในระยะสั้น ทางเมืองพัทยา จะนำกระสอบทรายมาเป็นแนวกั้นน้ำ ส่วนต้นไม้ใหญ่ที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะมีการโค่นลงมา อาจจะเกิดอันตรายได้ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะรีบลงมาแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นอย่างเร็วที่สุด โดยปัญหาการกัดเซาะของทะเลในครั้งนี้ เป็นโครงการดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่ถึงอย่างไรก็จะต้องศึกษาและทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน เนื่องจากเป็นโครงการที่ละเอียดอ่อน และเป็นการช่วยรักษาธรรมชาติ อีกทางหนึ่งด้วย
      
ด้านนายอำเภอบางละมุง กล่าวด้วยว่า ในเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ซึ่งก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และก็ฝีมือมนุษย์ด้วย เพราะที่ผ่านมามีการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ก็อาจจะเกิดผลกระทบกับธรรมชาติได้ อีกทั้งเนื่องจากในช่วงลมหนาว ตามธรรมชาติน้ำทะเลจะมีการซัดทรายลงไปในทะเล แต่หากในช่วงหน้าร้อนน้ำทะเลก็จะซัดทรายขึ้นมาบนหาด ซึ่งก็เป็นความสมดุลของธรรมชาติ
      
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น น้ำทะเลได้พัดทรายออก แต่เมื่อถึงช่วง กลับไม่พัดทรายเข้ามา ทำให้บริเวณพื้นที่ชายหาดลดน้อยลงไป น้ำทะเลจึงกัดเซาะชายฝั่ง จนแทบไม่เหลือหาดทราย ทางอำเภอบางละมุง ก็ร่วมกับเมืองพัทยา และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุม หารือ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ขณะนี้ก็อาจจะล่าช้าบ้าง เนื่องจากจะต้องมีการศึกษาตามหลักวิชาการ และยื่นเสนอของบประมาณที่จะต้องใช้เป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นโครงการเร่งด่วน ที่ทางรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด

กาลเวลาของโลก